ช่วงนี้อากาศบ้านเราเริ่มกลับมาร้อนอบอ้าวอีกแล้ว หลายบ้านจึงมีแอร์ไว้เป็นตัวช่วยและคลายร้อน เพิ่มความเย็นสบายให้อากาศภายในบ้าน แต่ในความสะดวกสบายก็ยังไม่วายต้องเจอปัญหาที่เกิดจากแอร์อยู่ดี อย่างปัญหาเรื่องของ แอร์ เป็นน้ำแข็ง หนึ่งในเรื่องที่ทำให้หลายบ้านหนักใจกันเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นวันนี้เราจึงจะมาพูดถึงสาเหตุหลักของปัญหานี้ พร้อมวิธีแก้ไขด้วยตนเองมาฝากกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปตรวจเช็คแอร์ที่บ้านและสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
แอร์ เป็นน้ำแข็ง ส่งผลกระทบในด้านใดบ้าง?
1. ทำให้แอร์เสีย
แน่นอนว่าเมื่อใดที่ แอร์มีน้ำแข็งเกาะ และไม่มีการแก้ไขใดๆ นั่นจะส่งผลให้แอร์เสีย หรืออาจก่อเกิดความเสียหายของระบบได้
2. ทำให้แอร์ไม่เย็น
ส่งผลให้แอร์ไม่เย็น เพราะแอร์มีการอุดตันอยู่ภายในจึงไม่มีการระบายอากาศหรือความเย็นออกมา จึงทำให้แอร์เย็นช้ากว่าปกติ หรือไม่มีความเย็นเลย
3. กินไฟ ค่าไฟเพิ่มขึ้น
หากแอร์มีการอุดตันจากสิ่งสกปรก จนทำให้แอร์ไม่สามารถระบายอากาศออกมาได้ แต่ยังมีการทำงานของระบบและไม่ได้มีการแก้ไข จะทำให้ใช้ไฟมากขึ้นกว่าเดิมเกิดปัญหาค่าไฟเพิ่มขึ้น
4. ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร
หาก แอร์ เป็นน้ำแข็ง จนเกิดการรั่วซึมของน้ำและถ้าน้ำไหลออกมาไปโดนระบบวงจรไฟฟ้าอื่นๆ ภายในบ้าน อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟไหม้บ้านได้
สาเหตุทีทำให้เกิดปัญหา แอร์ เป็นน้ำแข็ง
ปัญหานี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งก่อนอื่นเลยเราจะต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าการที่ แอร์ เป็นน้ำแข็ง ไม่ได้แปลว่ายิ่งเย็น แต่ในทางตรงกันข้ามจะทำให้แอร์เกิดปัญหาขัดข้อง จนไม่สามารถระบายความเย็นออกมาได้ และทำให้เกิดความเสียหายในที่สุด โดยสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้ แอร์เกิดน้ำแข็ง มีดังนี้
1. ใช้งานแอร์หนัก
บ้านไหนที่มีการใช้งานแอร์หนักจนเกินไป และยังขาดการดูแล อย่างเช่น ไม่ได้ล้างแอร์หรือทำความสะอาดเลย ก็จะทำให้ แอร์เกิดน้ำแข็ง ได้
2. เกิดความขัดข้อง
หากมีอุปกรณ์ส่วนใดส่วนหนึ่งของแอร์เกิดความขัดข้อง เช่น แผงกรองอากาศเกิดการอุดตัน หรือแผงคอยล์สกปรก จนไม่สามารถสร้างความเย็นได้ หรือเทอร์โมนิเตอร์ไม่ยอมตัดทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลา จึงส่งผลให้ แอร์ เป็นน้ำแข็ง นั่นเอง
3. แผงคอยล์เย็นและตัน
แผงคอยล์ที่มีคราบสกปรกจากการที่ไม่ได้มีการล้างมานาน เมื่อแผงคอยล์เย็นมากๆ จนไม่สามารถระบายลมออกมาได้เพราะช่องแผงอุดตัน นี่จึงส่งผลให้แผงคอยล์เป็นน้ำแข็ง
4. น้ำยาแอร์รั่ว
หากมีน้ำยาแอร์รั่วซึมออกมา จะส่งผลให้น้ำยาในระบบเหลือปริมาณน้อยลงจนเกิดภาวะน้ำแข็งเกาะ
5. มอเตอร์พัดลมคอยล์เย็นหมุนช้า
เมื่อมอเตอร์พัดลมคอยล์เย็นหมุนช้าลงหรือไม่ยอมหมุนเลยจะทำให้ แอร์มีน้ำแข็งเกาะ เพราะระบบไม่สามารถระบายอากาศเย็นออกไปได้
วิธีการแก้ปัญหา แอร์ เป็นน้ำแข็ง ด้วยตนเอง
1. เช็คหาจุดรั่ว
• เริ่มเช็คด้วยการสังเกตว่ามีคราบน้ำมันหยดหรือไม่ เพราะหากมีน้ำยาแอร์รั่วก็จะเกิดคราบตรงจุดที่รั่ว อย่างเช่น จุดเชื่อมท่อต่อ, จุดช่วงท่อต่อเชื่อมกับตัวแอร์ ซึ่งหากพบว่ามีจุดรั่วก็ต้องรีบแก้ไขในทันที
• ต่อมาให้เช็คด้วยฟองสบู่ โดยการใช้แปรงสีฟันจุ่มฟองสบู่หรือน้ำยาล้างจาน แล้วทาลงบนท่อของน้ำยาแอร์ ซึ่งหากมีจุดรั่วก็จะเกิดฟองอากาศขึ้นมา ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน
• สุดท้ายเช็คด้วยเสียง โดยการฟังเสียงลมที่ท่อแอร์ ซึ่งหากมีจุดรั่วก็จะได้ยินเสียงลมในบริเวณนั้น
2. ล้างแอร์
• เตรียมอุปกรณ์ให้ครบ ได้แก่ หัวฉีดสายยาง, ผ้ายาง, ถังรองน้ำ, เทปกาวติดผ้ายางและตัวแอร์, บันได้ปีนล้างแอร์, น้ำยางล้างจาน, ฟองน้ำ, ผ้าขนหนู และไขควง
• ปิดสวิตซ์ให้เรียบร้อย เริ่มขั้นตอนด้วยการเปิดฝาหน้าถอดฟิลเตอร์ออก ไขน็อตด้านออกและทำการถอดฝาครอบแอร์อย่างระมัดระวัง
• ต่อมาถอดบานสวิงออก โดยเริ่มถอดจากตรงกลาง เมื่อถอดเสร็จให้หาถุงใหญ่ๆ มาคลุมชุดแผงวงจรไว้ เพื่อกันไม่ให้โดนน้ำ
• ใช้เทปกาวและผ้ายางติดด้านข้างของแอร์ทั้งซ้ายและขวา โดยทำคล้ายๆ รางน้ำแล้ววางปลายผ้ายางไว้ที่ถังน้ำ เพื่อให้น้ำที่ล้างไหลลงมาในถัง
• มาถึงขั้นตอนการล้าง ให้ฉีดน้ำตามแนวท่อแอร์ โดยค่อยๆ ฉีดไล่น้ำเพื่อไม่ให้กระเด็นไปโดนตัววงจร เมื่อฉีดจนคราบสกปรกหลุดออกมาก็ใช้น้ำยาล้างจานหรือน้ำยาล้างแอร์ล้างทำความสะอาดอีกรอบ จากนั้นให้เช็ดออกด้วยฟองน้ำที่เตรียมไว้
• หลังจากนั้นก็มาทำความสะอาดคอมเพรสเซอร์แอร์ด้านนอกหรือคอยล์ร้อน โดยเริ่มจากไขน็อตตามจุดต่างๆ แล้วฉีดน้ำเข้าไปทำความสะอาด และใช้ถุงดำมาคลุมตัวระบบให้มิดชิด เมื่อฉีดจนสะอาดแล้วก็นำถุงดำออก
• เมื่อทำความสะอาดเสร็จเรียบร้อย ก็ใช้ผ้าแห้งเช็ดหรืออาจใช้ที่เป่าลมเพื่อให้แห้งเร็วขึ้น จากนั้นก็ทิ้งไว้สักครู่ แล้วจึงประกอบแอร์กลับเข้าไปเหมือนเดิม
จบกันไปแล้วกับสาเหตุของปัญหาเรื่อง แอร์ เป็นน้ำแข็ง และวิธีแก้ไขในเบื้องต้นด้วยตนเอง คงจะเข้าใจกันแล้วนะว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ เลย แต่อย่างไรก็ตามปัญหานี้เราสามารถแก้ได้ด้วยตัวเอง เพียงแต่ต้องแก้ไขให้ถูกต้องและต้องรู้สาเหตุที่เกิด เพราะถึงแม้แอร์จะมีประโยชน์มากมายก็จริงแต่ก็มักจะมีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ตามมาหลังการใช้งานอยู่เสมอ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการหมั่นตรวจเช็ค เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ตามมานั่นเอง
รูปภาพประกอบ : pasairclean.com
รูปภาพประกอบ : daikin.co.th