สารทำความเย็นหรือที่เรียกกันว่า น้ำยาแอร์ เป็นสิ่งจำเป็นหลักของระบบเครื่องทำความเย็นและระบบเครื่องปรับอากาศ โดยที่สารทำความเย็นจะเปรียบเสมือนตัวกลางสำหรับถ่ายเทความร้อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อให้แอร์ทำงานได้ปกติ โดยในวันนี้เราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับ น้ำยาแอร์ r22 กัน โดยรายละเอียดและการคำนวณเงินค่าใช้จ่ายในการเติมจะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาเช็คกันเลย
สารทำความเย็นที่นิยมใช้ในบ้านเรา
สารทำความเย็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายกับแอร์ในบ้านเรานั่นก็คือสารทำความเย็นชนิดที่ใช้ชื่อรหัส R – 22 ซึ่งมีการนำมาใช้ยาวนานกว่าหลายสิบปี แต่เนื่องจากในปัจจุบัน น้ำยาแอร์ r22 นี้มีส่วนผสมของสาร CFC ซึ่งเป็นสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศอันเป็นสาเหตุหลักของสภาวะเรือนกระจกหรือภาวะโลกร้อน ทำให้เริ่มมีการนำสารทำความเย็นชนิดใหม่มาใช้ โดยมีชื่อรหัสว่า R – 410a จึงทำให้ตอนนี้สารทำความเย็นที่นำมาใช้กับเครื่องปรับอากาศในบ้านมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด หลักๆ คือ R – 22 และ R – 410a
แรงดันของสารทำความเย็นในระบบแอร์
สำหรับเครื่องปรับอากาศที่ใช้ น้ำยาแอร์ r22 การจะตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็นว่ายังคงมีอยู่เพียงพอหรือไม่นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี แต่วิธีที่จะอ่านค่าออกมาได้แน่นอนและนิยมทำกันมากสุดก็คือ วิธีการต่อเกจเมนิโฟลด์ เพื่อที่จะวัดค่าแรงดันของสารทำความเย็นในระบบ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าเป็นการวัดเพื่อตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็นจะวัดแค่ที่วาล์วลูกศรด้านท่อทางดูดหรือท่อใหญ่ ซึ่งท่อนี้จะเป็นเส้นทางของสารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะแก๊สและเป็นท่อที่มีแรงดันต่ำในขณะที่เครื่องทำงาน
ส่วนท่ออีกด้านหนึ่งจะเป็นท่อทางอัดหรือท่อเล็ก โดยจะมีสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นของเหลวและมีแรงดันสูงมากไหลอยู่ในนั้น จึงไม่สามารถที่จะต่อเกจเมนิโฟลด์เข้าไปในขณะที่เครื่องยังทำงานอยู่ได้เพราะแรงดันสูงอาจทำให้เกิดอันตรายได้ แต่ในกรณีแอร์มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากท่อด้านนี้มักไม่ค่อยได้ใช้งานเท่าไหร่นัก ผู้ผลิตจึงเลือกที่จะไม่ใส่วาล์วลูกศรให้กับท่อทางอัดของแอร์ที่มีขนาดเล็ก
โดยปกติแล้ว ค่าแรงดันของน้ำยาแอร์ r22 แบบมาตรฐานแบบดั้งเดิมได้กำหนดไว้ที่ประมาณ 68 – 75 PSIG ( ปอนด์ต่อตารางนิ้วเกจ ) ซึ่งถ้าแรงดันที่วัดได้อยู่ในเกณฑ์นี้ถือว่าผ่าน ดังนั้นถ้าแรงดันน้ำยาไม่ต่ำกว่า 68 PSIG ถือว่าแอร์ยังมีน้ำยาเพียงพอ แต่เนื่องจากค่าดังกล่าวได้มีการกำหนดมานานมากแล้ว ปัจจุบันจึงมีการกำหนดให้แรงดันน้ำยาแอร์ระดับต่ำสุดเป็น 70PSIG และ 78 – 80 PSIG เป็นค่าสูงสุด
ค่าบริการเติมสารทำความเย็น
อัตราค่าบริการในการเติม น้ำยาแอร์ r 22 แต่ละครั้ง โดยทั่วไปแล้วหากเป็นการเติมสารทำความเย็นในภายหลังมักจะคิดราคาในรูปแบบเป็น บาท / ปอนด์ ซึ่งเป็นรูปแบบของการคิดราคาค่าน้ำยาที่รวมค่าบริการแล้ว และอีกรูปแบบหนึ่งก็อาจจะใช้การเหมาจ่ายที่รวมค่าน้ำยาและค่าบริการแล้วเช่น ครั้งละ 300บาท เป็นต้นโดยการคิดราคาในรูปแบบบาท / ปอนด์ คือวิธีการที่นำยมทำกันมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะเป็นวิธีที่สะดวกมากและยังมีการใช้เครื่องมือไม่มากทำให้ไม่ยุ่งยากในการปฏิบัติงานในพื้นที่จำกัด
อัตราค่าบริการที่เป็นมาตรฐาน
สำหรับร้านที่ได้มาตรฐานนั้นการให้บริการลูกค้าแต่ละครั้งจะเลือกใช้สารทำความเย็นที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นสารทำความเย็นที่มีการบรรจุลงถังมาจากโรงงานหรือมีการจำหน่ายมาพร้อมถัง และเมื่อใช้สารทำความเย็นหมดถังแล้วจะต้องนำถังมาขายเพื่อรีไซเคิลต่อไป หรือไม่ก็ต้องส่งถังเปล่าขายคืนกลับไปยังบริษัทผู้ผลิตเพื่อใช้บรรจุใหม่ เพราะวาล์วเดิมที่มากับถังประเภทนี้จะออกแบบให้ไม่สามารถนำมาเติมใหม่ด้วยตนเองได้) ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพสารทำความเย็นให้มีคุณภาพที่ดีและป้องกันการปนเปื้อนจากสารอื่นๆ
แต่บางครั้งผู้ให้บริการที่ไม่ได้เน้นเรื่องการควบคุมคุณภาพมากมาย ก็อาจจะเลือกใช้สารทำความเย็นแบบบรรจุเองหรือแบ่งบรรจุจากถังขนาด 50 กิโลกรัม ซึ่งจะแบ่งขายเป็นกิโลกรัมโดยการนำถังเปล่าไปแบ่งเติมเอาเอง ซึ่งหาซื้อได้ที่ร้านขายอะไหล่ทั่วไปท้องถิ่น แต่อย่างไรก็ตามการซื้อน้ำยาแอร์ในลักษณะนี้อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนจากสิ่งแปลกปลอมได้ง่ายและอาจมีการนำสารทำความเย็นไม่มีคุณภาพมาขายก็เป็นได้
โดยราคาค่าเติมน้ำยานอกสถานที่ในกรณีที่วัดแรงดันสารทำความเย็นแล้วพบว่าเหลืออยู่ได้ไม่ต่ำกว่าครึ่งของแรงดันปกติ ( เหลือไม่น้อยกว่า 40 PSIG ) ราคามาตรฐานจะใช้การคิดแบบ ราคา ( บาท ) / ปอนด์โดยน้ำยาแอร์ r22 ราคาจะอยู่ที่ 10 – 20 บาท / ปอนด์
ราคาขายส่งสารทำความเย็นโดยประมาณ ไม่รวมอัตราค่าบริการ
สำหรับราคาค่าบริการที่แนะนำในการเติมสารทำความเย็นทั้งระบบแต่ละครั้ง หากคิดราคาในอัตราราคา ( บาท ) / น้ำหนัก ( กก. ) เมื่อรวมค่าบริการแล้ว สำหรับ น้ำยาแอร์ r 22 ราคาที่แนะนำควรอยู่ที่กิโลกรัมละ 500 – 1,000 บาท ซึ่งไม่ควรมากเกินกว่ากิโลกรัมละ 1,000 บาท และสำหรับน้ำยา R – 410a ราคาที่แนะนำควรอยู่ที่กิโลกรัมละ 1,000 – 2,000 บาท และไม่ควรเกินกว่ากิโลกรัมละ 2,000 บาท ทั้งนี้อัตราการคิดค่าบริการนั้นอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพื้นที่และลักษณะความอยากง่ายด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้เรื่อง น้ำยาแอร์ r 22 ที่เราได้นำมาแชร์กันในวันนี้ หวังว่าบทความนี้จะทำให้ผู้อ่านได้ความรู้กันไม่มากก็น้อยเลยล่ะ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันรัฐบาลได้รณรงค์ให้หันมาใช้น้ำยาแอร์ชนิด R – 410a มากขึ้นและเลิกใช้น้ำยา R22 ในอนาคต แต่สำหรับบ้านไหนที่เครื่องปรับอากาศยังใช้น้ำยา R22 อยู่ ก็ยังสามารถใช้ได้เหมือนเดิมตามปกติ
รูปภาพประกอบ : airconco.com
รูปภาพประกอบ : sammyhub.com
อ่านต่อที่ แอร์แขวน
Credit : เด็ก, แบบบ้าน, แอลกอฮอล์, มอเตอร์ไซค์, เครื่องดนตรีสากล